ปปง.-ตร.ไซเบอร์ แถลงยึดทรัพย์แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์กว่าพันล้านบาท

วันนี้ (12 ม.ค. 67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อนเศรษฐกิจและสังคม พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี่หรือ (สอท.) และเจ้าหน้าที่ ปปง. แถลงผลปฎิบัติบัติการยึดทรัพย์เครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ขบวนการของนางสาวธารารัตน์ กับพวก โดยเข้าตรวจค้นใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นนทบุรี และ กรุงเทพฯ รวม 13 จุด สามารถยึดทรัพย์ ได้เพิ่มเติมกว่า 1,200 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรถยนต์ 77 คัน ,โฉนดที่ดิน 84 ฉบับ ,ทองรูปพรรณ น้ำหนักประมาณ 50 บาท ,ธนบัตรไทย / ต่างประเทศ อีกเกือบ 10 ล้านบาท , นาฬิกาหรู กว่า 7.5 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 924 ล้าน เป็นทรัพย์สินที่ ปปง. มีคำสั่ง อายัดไว้ก่อนหน้านี้

 

ส่วนพฤติการณ์ของขบวนการนี้ เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำเป็นเครือข่าย เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายหลายรูปแบบ ทั้งใช้วีธีโทรศัพท์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หลอกให้ผู้เสียหายโอนเงิน / หลอกเสียหายโดยการโพสข้อความผ่าน Facebook โฆษณาชักชวนผู้เสียหายแลกเปลี่ยนเงินสกุลบาทเป็นเงินสกุลหยวน ในอัตตราที่ถูกกว่าสถาบันการเงิน แต่ไม่จ่ายผลตอบแทน, หลอกลวงประกอบธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ สั่งซื้อสินค้าจากจีน โดยหลอกให้ผู้เสียหายลงทุนอัตตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวน สำหรับคดีฉ้อโกงนี้มีผู้แจ้งความแล้วกว่า 54 คน โดยกลุ่มของ นางสาวธรารัตน์ มีการโอนเงินมากกว่า 3 พันล้านบาท บางส่วนโอนไปยังเงินฝากของกลุ่มเวั็บพนันออนไลน์เพื่ออำพรางธุรกรรม แปรงสภาพทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ห้องชุด , สลากออมสิน และมีเงินฝากในบัญชี กว่า 238 รายการ

นอกจากนี้กลุ่มของ นางสาวธารารัตน์ ยังเคยถูกดำเนินคดี และแจ้งอายัดบัญชีเงินฝาก ในคดีฉ้อโกงประชาชนในหลายท้องที่ ทั้งใน จังหวัดอุบลราชธานี , ขอนแก่น , กรุงเทพฯ ซึ่งหลังจากที่ ปปง. ส่งเรื่องมายัง ตำรวจไซเบอร์ จึงเป็นที่มาของการปฎิบัติการตรวจค้นเมื่อวานนี้ โดยจุดใหญ่สุดคือที่ จังหวัดเชียงใหม่ สามารถยึดทรัพย์สินได้มากที่สุด เป็นรถยนต์กว่า 50 คัน ซึ่งเจ้าของทรัพย์มีความเกี่ยวเนื่องกับนางสาวธารารัตน์ แต่เจ้าตัวอ้างว่าทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของภรรยาซึ่งเป็นชาวจีน เบื้องต้นพนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานและขยายผล

ด้านนายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการ ปปง. กล่าวว่า ตามขั้นตอนการคืนทรัพย์สินให้กับผูัเสียหาย ต้องมีการยื่นคำร้องก่อนส่งเรื่อง ภายใน 90 วันให้ศาลพิจารณา สั่งนำทรัพย์ให้คืนแก่ผู้เสียหาย โดยที่ผ่านมาทาง ปปง. ได้ดำเนินคดี กับนางธารารัตน์ กับพวกจำนวน 3 คนแล้ว

อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ปปง. ยังแถลงผลการยึดทรัพย์ ปี 2566 สามารถดำเนินการอายัดทรัพย์สิน ได้กว่า 12,000 ล้านบาท โดยเป็นทรัพย์สินที่ยึดและอายัดแล้ว 19 คดี มูลค่า 995 ล้านบาท เป็นของนางสาวธารารัตน์ คดีหลอกลงทุน แอพพลิเคชั่นไทเดลี่ชักชวนทำงานหารายได้เสริม , หลอกขายเพชรออนไลน์ ที่มีผู้เสียหายกว่า 500 ราย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างส่งเรื่องให้ อัยการยื่นขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน 16 คดี มูลค่า 2,143 ล้านบาท และขอให้ศาลมีคำสั่งนำทรัพย์สินชดใช้คินให้กับผู้เสียหายอีก 8 คดี มูลค่า 318 ล้านบาท