รถไฟสายสีชมพูใกล้เสร็จคาดทดลองใช้ฟรีเดือนพ.ย.66

บริษัทผู้รับสัมปทานโครงการ ได้แจ้งความคืบหน้าให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทราบว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) อย่างต่อเนื่องซึ่งยังไม่พบปัญหาใดๆ โดยระยะที่ 1 จากสถานีมีนบุรี (PK30) ถึงสถานีศูนย์ราชการ (PK12) และจะทำการทดสอบไปจนถึงวันที่ 22 ต.ค. 66 จากนั้นจะต่อด้วยระยะที่ 2 ตลอดเส้นทางจากสถานีมีนบุรี (PK30) ถึงสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) โดยจะทดสอบถึงวันที่ 19 พ.ย. 66 รวมระยะเวลาทำ Trial Run ประมาณ 3 เดือน และพร้อมเปิดให้บริการเดินรถในวันที่ 18 ธ.ค. 66หลังจากสิ้นสุดการทำ Trial Run วิศวกรที่ปรึกษาอิสระ (Independent Certification Engineer : ICE) และ รฟม. จะประเมินผลการดำเนินงาน และประเมินความพร้อมของงานโยธา งานเดินรถ และงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดของโครงการฯ ว่ามีความพร้อมและปลอดภัย จึงจะอนุญาตเปิดให้บริการได้ คาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรี 1 เดือน

ปัจจุบันการก่อสร้างสำเร็จไปแล้วกว่า 97.54% สำหรับอัตราค่าโดยสารจะเริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บาท และจะปรับเปลี่ยนตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยจะใช้ CPI 3 เดือนก่อนวันที่เริ่มให้บริการ คาดว่าจะใกล้เคียงกับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้นมีจุดให้บริการตลอดสายทั้งหมด 30 สถานี ซึ่งประกอบไปด้วย

1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

ตั้งอยู่บน ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าถึง 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม) บางซื่อ-บางใหญ่ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

2. สถานีแคราย

ตั้งอยู่บน ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี

3. สถานีสนามบินน้ำ

ตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี

4. สถานีสามัคคี

ตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี

5. สถานีกรมชลประทาน

ตั้งอยู่บน ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

6. สถานีแยกปากเกร็ด

ตั้งอยู่บน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เชื่อมต่อกับเรือด่วนเจ้าพระยา ท่าปากเกร็ด

7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

ตั้งอยู่บน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

8. สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28

ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

9. สถานีเมืองทองธานี

ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทุบรี

10. สถานีศรีรัช

ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์) เชื่อมเข้ากับด้านในเมืองทองธานี

11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14

ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ

ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

13. สถานีทีโอที

ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

14. สถานีหลักสี่

ตั้งอยู่บน แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต

15. สถานีราชภัฏพระนคร

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ

16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

17. สถานีรามอินทรา 3

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ

18. สถานีลาดปลาเค้า

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ

19. สถานีรามอินทรา กม.4

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ

20. สถานีมัยลาภ

ตั้งอยู่บน แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ

21. สถานีวัชรพล

ตั้งอยู่บน แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพล

22. สถานีรามอินทรา กม.6

ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ

23. สถานีคู้บอน

ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ

24. สถานีรามอินทรา 83

ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ

25. สถานีปัญญาอินทรา

ตั้งอยู่บน แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ

26. สถานีนพรัตน์

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

27. สถานีบางชัน

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

29. สถานีตลาดมีนบุรี

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

30. สถานีมีนบุรี

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีมีนบุรี พร้อมอาคารจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุง
จากข้อมูลแสดงเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทำให้ทราบว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก
เนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีอื่น ๆ ถึง 6 สาย ไม่ว่าจะเป็น
1. รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
3. รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่สถานีหลักสี่
4. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานวัดพระศรีมหาธาตุ
5. รถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพล
6. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีปลายทางอย่างสถานีมีนบุรี
ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางจากโครงข่ายหนึ่งไปยังอีกโครงข่ายหนึ่งได้อย่างสะดวก รวมถึงประหยัดเวลาในการเดินทางได้ดีอีกด้วย